การกำหนดปัญหา
การพัฒนาโครงงานได้ดี จำเป็นที่จะต้องระบุปัญหาให้ชัดเจนการระบุปัญหาควรเน้นที่ตัวปัญหา ว่าปัญหาคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด สาเหตุของปัญาหา มีประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบ สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงในประเด็นใดได้บ้าง โดยไม่ควรระบุว่าจะทำโครงงานอะไรตั้งแต่ต้น แนวทางการกำหนดปัญหามีดังนี้
ที่มาของปัญหา
1.ปัญหาในชีวิตประจำวัน
2.ปัญหาในการเรียนหรือการทำงาน
3.ปัญหาในระดับชุมชนหรือระดับประเทศ
แหล่งจุดประกายความคิดในการพัมนาโครงงาน
1.กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเรียน งานอดิเรก และงานที่รับผิดชอบ
2.วิทยุ โทรทัสนื รวมทั้งแหล่งข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต
3.หนังสือ วารสาร ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม และสื่อให้ความรู้และความบันเทิง
4.การเข้าค่ายอบรม การร่วมอภิปราย หรือสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
5.การทัศนศึกษาแหล่งวัฒนธรรม ชุมชน หรือสถานที่ท่องเที่ยว
6.การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ นิทรรสการ และการประกวดต่างๆ
องค์ประกอบเพื่อการตัดสินใจเลือกโครงงาน
1.ความรู้และทักาะพื้นฐาน
2.แหล่งความรู้เพื่อการค้นคว้า
3.งบประมารและทรัพยากร
4.เวลาในการพัฒนา
5.ไม่ผิดหลักศีลธรรม และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อตนเองและผู้อื่น
การศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหา
การพัฒนาโครงงานนั้น ควรที่จะต้องศึกษาถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน ว่าโครงงานนั้นแก้ปัญหาอะไร และหากแแก้ปัญหาแล้ว ได้ประโยชน์อะไรกับใครบ้าง รวมทั้งแนวทางในการแก้ปัญหานั้นมีความแปลกใหม่ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงเทคนิคใดบ้างหลังจากนั้น ควรระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงงานให้ชัดเจน ว่าต้องการพํฒนาอะไร แก้ปํญหาในมุมใด และควรที่จะต้องกำหนดแนวทางและขอบเขตของโครงงาน ว่าจะแก้ปํญหาในส่วนใคบ้าง ใช้ความรู้และทรัพยากรใดบ้าง แล้วจึงประเมินระยะเวลาและงบประมาณของโครงงาน ว่าโครงงานดังกล่าวจะใช้เวลาและงบประมาณเท่าใด โดยมีรายละเอียดในขั้นตอนต่างๆต่อไปนี้
1.การศึกษาที่มาและความสำคัญของโครงงาน
2.การระบุวัตถุประสงค์ของโครงงาน
3.การระบุแนวทางและขอบเขตของโครงงาน
4.ประเมินทรัพยากรที่ใชในโครงงาน
การวางแผนและออกแบบโครงงาน
หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และแนวทางในการพัฒนาโครงงานแล้ว ควรวางแผนการพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมและศึกาาความเป็นไปได้เบื้องต้น
2.กำหนดผลสำเร็จของโครงงาน
3.แบ่งการดำเนินการออกเป็นกิจกรรมย่อย
4.กำหนดขั้นตอนก่อนหลังของแต่ละกิจกรรม
การดำเนินงาน
ในขั้นตอนการดำเนินงานจะเป็นขั้นตอนที่ต้องพัฒนาชิ้นงาน หรือดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ได้งานสำหรับส่งมอบการดำเนินกิจกรรมต่างๆตามแผนที่วางไว้จำเป็นต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้ เพื่อป้องกันการพัฒนาโครงงานที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้ โดยขั้นตอนการพัฒนา แบ่งออกได้3ขั้นตอน ดังนี้
1.การเตรียมการ
2.การลงมือพัฒนา
3.การทดสอบและแก้ไข
การสรุปผลและการเผยแพร่ผลงาน
หลังจากการพัฒนาโครงงานเสร็จสมบรูณื ผู้พัฒนาควรเขียนรายงานโครงงานและเผยแพร่ผลงานซึ่งมีรูปแบบและหัวข้อสำคัญดังนี้
1.การเขียนรายงาน
บทที่1 บทนำ
บทที่2 หลักการ ทฤษฎี และงานที่เกี่ยวข้อง
บทที่3 วิธีการดำเนินงาน
บทที่4 การทดลองและผลการทดลอง
บทที่5 สรุปผล วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม คู่มือการใช้งาน
2.การนำเสนอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น